จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีบริบทที่มีความแตกต่างกันทั้งทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ในแต่ละพื้นที่ จึงมุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามศักยภาพที่หลากหลาย เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นนครราชสีมา โดยมีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาครูจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุม 310 ชั้น 3 เทคโนธานี อาคารสุรพัฒน์ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา บุคลากรที่เข้าร่วมระดมความคิดเห็นมาจากนักการศึกษาทุกสังกัด ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราชสีมาทั้ง 7 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 31 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 สำนักงานการศึกษาเอกชน ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ พบว่า
การอบรมและพัฒนาครูไม่สอดคล้องกับความต้องการ เมื่ออบรมพัฒนาไปแล้วขาดการติดตาม ภาระงานของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีมากเกินไป ครูปัจจุบันไม่มุ่งมั่นหรือไม่รับผิดชอบในการสอนเท่าที่ควร ครูสอนโดยไม่มีการเตรียมการสอน ครูสอนไม่ตรงวิชาเอกและไม่ตรงตามความถนัด อัตราส่วนของครูต่อนักเรียนไม่เหมาะสม ครูยังเข้าถึงเทคโนโลยีในการสอนน้อย ยังใช้เทคนิคการสอนแบบเดิมๆ ครูขาดสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครูขาดความรู้ด้านการวัดผลประเมินผลและการนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ครูต้องทิ้งห้องเรียนเนื่องจากต้องไปอบรมในเวลาที่มีการเรียนการสอน และการจัดอบรมส่วนใหญ่ไม่ค่อยตรงตามความต้องการในการพัฒนาของครู
จากผลการระดมความคิดดังกล่าว จังหวัดนครราชสีมา จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาครูสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาครูจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการวางระบบการทำงาน เป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมครูดีเด่น/ครูเชี่ยวชาญ และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน ควบคู่กับการจัดทำเว็ปไซต์ศูนย์พัฒนาครูจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาระบบ กลไก แนวทางการส่งเสริมสนับสนุน ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน และพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนนำร่อง
รายงานผลการดำเนินงานระยะที่ 1
โมเดล PLC และสรุปผลการดำเนินงานระยะที่ 2
-
จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการขยายผลการพัฒนาครูด้วยกระบวนการ PLC ไปยังโรงเรียนแกนนำทั้งสิ้น 14 โรงเรียน ได้แก่1.โรงเรียนจุรีพันธ์2. โรงเรียนบ้านหนองมะค่า3. โรงเรียนจระเข้หิน4. โรงเรียน...
ประมวลภาพการทำงานของจังหวัด
การประชุมนำเสนอแผนการดำเนินงาน กำหนดการเยี่ยมเยียนหนุนเสริมระยะที่ ๒
![]() |
![]() |
![]() |
การเสริมหนุน เยี่ยมเยือน เสริมกำลังใจ
โรงเรียนหนองมะค่า |
โรงเรียนหนองมะค่า |
|
โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ |
โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ |
|
โรงเรียนบ้านดอนกลาง |
โรงเรียนบ้านดอนกลาง |
|
โรงเรียนบัวลาย |
โรงเรียนบัวลาย |
|
โรงเรียนอนุบาลจุรีพันธ์ |
โรงเรียนอนุบาลจุรีพันธ์ |
|
โรงเรียนบ้านแก่นท้าว |
โรงเรียนบ้านแก่นท้าว |
|
โรงเรียนท่าช้าง |
โรงเรียนท่าช้าง |
|
โรงเรียนเทศบาลตลาดแค |
โรงเรียนเทศบาลตลาดแค |
ประชุมปฏิบัติการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
26 พฤศจิกายน 2558
|
![]() |
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
ประชุมเพื่อสรุปผลการเยี่ยมเยียนหนุนเสริม เติมเต็ม ระยะที่ 2 และวางแผนการดำเนินกิจกรรมที่ 6-10
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
15 มีนาคม
. ..
การเสริมหนุน เยี่ยมเยือน เสริมกำลังใจ
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน
18 มีนาคม 2559
การประชุมสรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 31 มีนาคม 2559